จีโอแทปพลิกโฉมการคมนาคมอัจฉริยะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จีโอแทปพลิกโฉมการคมนาคมอัจฉริยะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ด้วยปัญญาประดิษฐ์รู้สร้างและข้อมูลเชิงลึกจากผู้ช่วยดิจิทัล โปรเจ็ค จี เจเนอเรทีฟ เอไอ พร้อมให้บริการแล้วผ่านทางจีโอแทป ดาตา คอนเน็กเตอร์ ช่วยมอบข้อมูลเชิงลึกที่ทรงพลังเกี่ยวกับสมรรถนะของยานยนต์ ประสิทธิภาพ และอื่น ๆ อีกมากมาย

จีโอแทป (Geotab) ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันการขนส่งอัจฉริยะ กำลังนำพาประสบการณ์ด้านข้อมูลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) ไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ด้วยศักยภาพชั้นนำของอุตสาหกรรม วันนี้ ทางบริษัทได้ประกาศเปิดตัวโปรเจ็ค จี (Project G) รอบเบต้า ซึ่งสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของลูกค้าในออสเตรเลียให้ตอบสนองความต้องการข้อมูลเชิงลึกที่จำเป็นเกี่ยวกับสมรรถนะของยานยนต์ ประสิทธิภาพ และความยั่งยืนได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นรอบเดินเบา (idling times) ไปจนถึงการเปรียบเทียบการประหยัดเชื้อเพลิง การใช้ยานพาหนะ การประหยัดต้นทุน และอื่น ๆ โปรเจ็ค จี ช่วยส่งมอบข้อมูลที่ครอบคลุมเข้าใจง่ายได้อย่างง่ายดาย

โปรเจ็ค จี ลดเวลาในการมอบข้อมูลเชิงลึกให้กับลูกค้า และเปลี่ยนแปลงกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลการขนส่งให้เป็นประสบการณ์ที่เข้าใจและใช้งานง่าย ด้วยการใช้ประโยชน์จากโมเดลภาษาธรรมชาติ โปรเจ็ค จี ถูกพัฒนาขึ้นจากหลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ช่วยรักษาข้อมูลเทเลมาติกส์ของลูกค้าเอาไว้ภายในสิ่งแวดล้อมของจีโอแทป โดยไม่มีการแบ่งปันข้อมูลร่วมกับโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM)

“ด้วยโปรเจ็ค จี เรากำลังมุ่งไปข้างหน้าอย่างก้าวกระโดด ในการนำเสนอผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์รู้สร้าง (Generative AI) ในภูมิทัศน์ของการคมนาคมอัจฉริยะ เราได้รับการยอมรับในฐานะผู้นำด้านข้อมูลอัจฉริยะและ AI มาอย่างยาวนาน จากการใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์และโมเดลการเรียนรู้ด้วยตัวเองของคอมพิวเตอร์ (ML) มานานหลายปี” ไมค์ แบรนช์ (Mike Branch) รองประฐานฝ่ายข้อมูลและการวิเคราะห์ของจีโอแทป กล่าว “ประสบการณ์ที่กว้างขวางนี้ทำให้เรามีโอกาสพิเศษในการวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มยานยนต์จำนวนมหาศาล ระบุรูปแบบ และสร้างคำแนะนำอันล้ำค่า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน”

“เราขอแนะนำโปรเจ็ค จี สู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเริ่มต้นเส้นทางของการเปลี่ยนแปลงที่จะผสมผสานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์รู้สร้างเข้ากับภูมิทัศน์ด้านการคมนาคมของภูมิภาคอันเป็นเอกลักษณ์ของเรา โครงการเบต้านี้ได้เน้นย้ำความมุ่งมั่นของจีโอแทปในการมอบโซลูชันอันเป็นนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมธุรกิจทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้นำไปเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานกลุ่มยานยนต์ได้อย่างราบรื่น” เดวิด บราวน์ (David Brown) ผู้ช่วยรองประธานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของจีโอแทป กล่าว “โปรเจ็ค จี เปิดทางให้กับข้อมูลเชิงลึกที่นำไปปฏิบัติได้จริง โดยใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์รู้สร้างในการส่งเสริมสมรรถนะยานยนต์ ประสิทธิภาพการดำเนินงาน และความยั่งยืน และกำหนดทิศทางของอนาคตของการคมนาคมอัจฉริยะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในท้ายที่สุด”

ตลอดปีที่ผ่านมา ปัญญาประดิษฐ์รู้สร้างได้กลายมาจุดสนใจสำคัญที่องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังค้นหาศักยภาพในการขับเคลื่อนลูกค้าและประสิทธิภาพด้านธุรกิจ ข้อมูลจากสตาทิสตา (Statista) ระบุว่า มูลค่าของปัญญาประดิษฐ์รู้สร้างคาดว่าจะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) ระหว่างปี 2566-2573 ที่ 27.33% คิดเป็นมูลค่าตลาดที่ 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2573 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ ผลการศึกษาโดยไอดีซี (IDC) ยังระบุอีกว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอัตราการสนับสนุนการใช้ AI ในปี 2566 ที่สูงไม่ธรรมดา โดย 76% ของธุรกิจในปัจจุบันเริ่มใช้ AI แล้วในปี 2566

จีโอแทปมีประวัติอันโชกโชนด้านนวัตกรรม AI และกำลังใช้ประโยชน์จากความชำนาญเหล่านี้กับลูกค้าในโครงการเบต้า จีโอแทปมีข้อมูลมากกว่า 5.5 หมื่นล้านจุดที่ได้รับการประมวลผลในแต่ละวันจากยานยนต์อัจฉริยะมากกว่า 3.7 ล้านคัน จีโอแทปจึงยืนอยู่ในระดับแนวหน้าของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในครั้งนี้ จีโอแทปมีทีมนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่มีจำนวนมากเป็นอันดับต้น ๆ ของวงการ ซึ่งทุ่มเทให้กับข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ และดำเนินธุรกิจกว้างขวางใน 165 ประเทศ ซึ่งรวมถึง 5 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์) จีโอแทปมีความชำนาญและขนาดที่จำเป็นต่อการฝึกฝนโมเดล AI ที่ทรงพลัง เพื่อปลดล็อกคุณค่าและประสิทธิภาพที่ไม่เคยมีมาก่อนให้กับลูกค้า

คุณแบรนช์ กล่าวเสริมว่า “โครงการเบต้าเป็นความร่วมมืออันน่าตื่นเต้นกับลูกค้าที่ได้รับเลือก เราสามารถปรับความต้องการและความท้าทายในโลกความจริงด้วยความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ ประยุกต์ใช้ และพัฒนาขีดความสามารถ ความเป็นไปได้นั้นไม่สิ้นสุด และเราได้ทุ่มเทในการส่งมอบโซลูชันเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า ที่ช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่ายดาย”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *