การแข่งขัน Porsche Mobil 1 Supercup จะเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ด้วยเชื้อเพลง eFuels ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เกือบทั้งหมด โดยวัตถุดิบสำหรับ eFuels มาจากโรงงานนำร่อง Haru Oni และมีรถแข่งในรายการ Supercup จำนวนมากถึง 32 คัน ที่จะใช้เชื้อเพลิง eFuels ในการแข่งขันทั้ง 8 รายการในยุโรป ด้วยโปรเจ็กต์อันสำคัญนี้ ปอร์เช่ มุ่งมั่นในการเป็นผู้นำที่จะนำพาโลกของมอเตอร์สปอร์ตไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน และมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาดสำหรับวงการมอเตอร์สปอร์ตอีกด้วย
ในปี 2024 การแข่งขัน Porsche Mobil 1 Supercup จะใช้เชื้อเพลิง eFuels เต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก โดยเชื้อเพลิง eFuels มาจากโรงงานนำร่อง Haru Oni ในประเทศชิลี ที่ผ่านกระบวนการผสมเพื่อให้ได้เชื้อเพลิงที่พร้อมสำหรับการแข่งขัน ช่วยให้รถแข่ง 911 GT3 Cup ที่มีกำลังประมาณ 375 กิโลวัตต์ (510 แรงม้า) มีแนวโน้มการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกือบเป็นกลางที่สุด ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาในรายการการแข่งขันชั้นนำ one-make series ของปอร์เช่ มีการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพยุคที่ 2 (second-generation bio-based) ซึ่งขณะนี้ปอร์เช่ก้าวไปอีกขั้นด้วยโปรเจ็กต์อันสำคัญนี้ รถแข่งเหล่านี้มีความแตกต่างจากรถยนต์ทั่วไป คือมีการติดตั้งชุดควบคุมเครื่องยนต์ที่ตั้งโปรแกรมด้วยตนเอง และจะมีการติดตั้งซอฟต์แวร์ก่อนการแข่งขัน
การแข่งขัน Porsche Mobil 1 Supercup จะจัดขึ้นอีกครั้งในฐานะส่วนหนึ่งของโปรแกรมสนับสนุนการแข่งขัน European Formula 1 ทั้ง 8 รายการในปีนี้ ฤดูกาลนี้เริ่มต้นขึ้นแล้วเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา กับการแข่งขันกรังด์ปรีซ์ของเอมิเลีย-โรมัญญา (Emilia-Romagna) ที่เมืองอิโมลา (Imola) และปิดท้ายที่เมืองมอนซา (Monza) ประเทศอิตาลี ในวันที่ 1 กันยายน ในช่วงระหว่างฤดูกาลการแข่งขัน รถแข่ง 32 คัน ต้องการเชื้อเพลิงรวมกันประมาณ 50,000 ลิตร
ไมเคิล สไตเนอร์ (Michael Steiner) สมาชิกคณะกรรมการฝ่ายวิจัยและพัฒนาของปอร์เช่ เอจี (Porsche AG) กล่าว “การแข่งขัน Supercup ยังเป็นเวทีสำคัญสำหรับเราในการพัฒนาเรื่อง eFuels และมอเตอร์สปอร์ตเป็นตัวขับเคลื่อนด้านนวัตกรรมมาโดยตลอด ซึ่ง ณ ปัจจุบันยังรวมถึงในแง่ของเชื้อเพลิงด้วย โครงการนี้เป็นอีกก้าวสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หากพิจารณาที่ห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมด (value chain) รถแข่ง Porsche Mobil 1 Supercup สามารถใช้เชื้อเพลิง eFuels ในการแข่งขันได้อย่างใกล้เคียงกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ เชื้อเพลิงชนิดใหม่นี้ถูกนำมาใช้ภายใต้เงื่อนไขที่ท้าทายที่สุด คือ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชะลอภาวะโลกร้อน และเรานำมาใช้กับวงการมอเตอร์สปอร์ตด้วย”
eFuels ผลิตจากไฮโดรเจนหมุนเวียนและคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ โดยใช้พลังงานหมุนเวียน ซึ่งจะสร้าง eMthanolol ขึ้นก่อน แล้วจึงนำไปแปรรูปเป็นน้ำมันดิบสังเคราะห์ โครงการ Haru Oni ตั้งอยู่ในปาตาโกเนีย ใช้พลังงานลมในการผลิต เนื่องจากบริเวณนี้มีลมแรงและราคาถูก ปัจจุบันก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาจากแหล่งชีวภาพ แต่ในอนาคตจะถูกสกัดโดยตรงจากบรรยากาศด้วยวิธีการจับอากาศโดยตรง (DAC) ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปอร์เช่ร่วมมือกับ Volkswagen Group บริษัท HIF Global ซึ่งเป็นพันธมิตรด้าน eFuels และ MAN Energy Solutions เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี DAC ในเชิงพาณิชย์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการแสดงให้เห็นว่ากระบวนการนี้สามารถนำไปใช้ในทางอุตสาหกรรมได้
บาร์บาร่า เฟรงเคิล (Barbara Frenkel) สมาชิกคณะกรรมการบริหารฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างของปอร์เช่ (Porsche) กล่าว “ในมุมมองของเรา กระบวนการดักจับอากาศโดยตรง (DAC) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สำคัญสำหรับอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการสกัดพลังงาน คาร์บอนไดออกไซด์บริสุทธิ์สามารถนำมาใช้สำหรับกระบวนการทางอุตสาหกรรมหรือเก็บไว้ถาวรในดินได้ eFuels ที่ผลิตในลักษณะนี้สามารถช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในวงการมอเตอร์สปอร์ตได้ เราจะสนับสนุน HIF ซึ่งเป็นพันธมิตรของเราต่อไป ในการเพิ่มปริมาณ eFuels ที่มีอยู่”
eFuel (หรือเชื้อเพลิงไฟฟ้า) หมายถึงเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่ผลิตโดยใช้พลังงานหมุนเวียนและไม่ต้องใช้ทรัพยากรฟอสซิล เชื้อเพลิงสังเคราะห์เหล่านี้สามารถเสริมการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับยานพาหนะที่มีอยู่ในปัจจุบัน ปอร์เช่มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยี eFuels โดยได้ลงทุนไปแล้วกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเข้าถือหุ้นมูลค่า 75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในบริษัท HIF Global LLC เมื่อเดือนเมษายน 2022 บริษัทแห่งนี้วางแผน ก่อสร้าง และดำเนินกิจการโรงงานผลิต eFuels ในประเทศชิลี ประเทศอุรุกวัย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศออสเตรเลีย
บาร์บาร่า เฟรงเคิล (Barbara Frenkel) สมาชิกคณะกรรมการบริหารฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างของปอร์เช่ (Porsche) กล่าว “ในมุมมองของเรา กระบวนการดักจับอากาศโดยตรง (DAC) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สำคัญสำหรับอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการสกัดพลังงาน คาร์บอนไดออกไซด์บริสุทธิ์สามารถนำมาใช้สำหรับกระบวนการทางอุตสาหกรรมหรือเก็บไว้ถาวรในดินได้ eFuels ที่ผลิตในลักษณะนี้สามารถช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในวงการมอเตอร์สปอร์ตได้ เราจะสนับสนุน HIF ซึ่งเป็นพันธมิตรของเราต่อไป ในการเพิ่มปริมาณ eFuels ที่มีอยู่”
eFuel (หรือเชื้อเพลิงไฟฟ้า) หมายถึงเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่ผลิตโดยใช้พลังงานหมุนเวียนและไม่ต้องใช้ทรัพยากรฟอสซิล เชื้อเพลิงสังเคราะห์เหล่านี้สามารถเสริมการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับยานพาหนะที่มีอยู่ในปัจจุบัน ปอร์เช่มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยี eFuels โดยได้ลงทุนไปแล้วกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเข้าถือหุ้นมูลค่า 75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในบริษัท HIF Global LLC เมื่อเดือนเมษายน 2022 บริษัทแห่งนี้วางแผน ก่อสร้าง และดำเนินกิจการโรงงานผลิต eFuels ในประเทศชิลี ประเทศอุรุกวัย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศออสเตรเลีย