ปอร์เช่ รักษาระดับผลตอบแทนจากการจำหน่ายรถยนต์ได้มากกว่า 15 เปอร์เซ็นต์

ปอร์เช่ รักษาระดับผลตอบแทนจากการจำหน่ายรถยนต์ได้มากกว่า 15 เปอร์เซ็นต์

ถึงแม้วิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าจะทำให้ทั่วโลกขาดแคลนอุปกรณ์ semiconductor อย่างหนัก ในทางกลับกันบริษัทผู้ผลิตรถสปอร์ตซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองสตุ๊ทการ์ท ยังคงสร้างผลการดำเนินงานอันยอดเยี่ยม เมื่อสิ้นสุดไตรมาส 3 ของปี ด้วยการบรรลุเป้าหมายอัตราส่วนผลตอบแทนจากการจำหน่ายรถยนต์ได้ถึง 15.5 เปอร์เซ็นต์ สำหรับปอร์เช่ ปี 2021 นับว่าเป็นการสร้างผลงานได้เกินกว่ามาตรฐานที่ตั้งไว้ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ปอร์เช่รั้งตำแหน่งหนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์ที่มีผลกำไรสูงที่สุดในโลกตลอดระยะเวลา 9 เดือนแรกของปี โดยมีรายได้จากการจำหน่ายรถยนต์ปรับตัวสูงขึ้น 19.1 เปอร์เซ็นต์ หรือคิดเป็นจำนวนเงิน 23.1 พันล้านยูโร (รายได้ในปีที่ผ่านมา 1,940 ล้านยูโร) และมีผลกำไรจากการดำเนินงาน 3,600 ล้านยูโร (ผลกำไรในปีที่ผ่านมา 2,000 ล้านยูโร) คิดเป็นอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้น 78.4 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2020 รวมถึงผลตอบแทนจากการขายอยู่ที่ 10.4 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่าน

Lutz Meschke รองประธาน และสมาชิกคณะกรรมการบริหาร ผู้กำกับดูแลส่วนงานการเงิน และเทคโนโลยีสารสนเทศของ ปอร์เช่ เอจี กล่าวว่า “เรามีความภาคภูมิใจในประสิทธิภาพจากการทำงานของเรา แต่อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสที่ 4 ปอร์เช่จะยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถเช่นเดิม โดย 3 ไตรมาสที่ผ่านมา เราได้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายด้วยดี ท่ามกลางสถานการณ์ที่ท้าทาย และส่งผลกระทบอยู่บ้างต่อยนตรกรรมสปอร์ตที่ผู้คนทั่วโลกชื่นชอบ อาทิ ปอร์เช่ 911 (Porsche 911) และปอร์เช่ ไทคานน์ (Porsche Taycan) แต่เรายังคงเดินหน้าต่อไป พร้อมกับความเข้มงวด และแม่นยำในการบริหารจัดการต้นทุน”

นับตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 2021 ปอร์เช่มียอดส่งมอบรถยนต์ใหม่ถึงมือลูกค้าทั่วโลกกว่า 217,198 คัน หรือคิดเป็นอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นถึง 13 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลา 9 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา

สำหรับประเทศที่อยู่ในการดูแลของปอร์เช่ เอเชีย แปซิฟิก (Porsche Asia Pacific¹) มียอดส่งมอบรถยนต์ใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 59 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยรถไฟฟ้าและรถยนต์ไฮบริดของปอร์เช่ มีสัดส่วนต่อยอดส่งมอบในภูมิภาคถึง 53 เปอร์เซ็นต์ นับได้ว่าทำสถิติสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีมากสำหรับผลตอบรับต่อทิศทางการดำเนินงานของปอร์เช่ในอนาคตเพื่อต่อยอดในการบรรลุตามเป้าหมายกลยุทธ์องค์กร Porsche’s global strategic ซึ่งกำหนดให้มียอดจำหน่ายรถไฟฟ้า 50 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2025

Oliver Blume ประธานกรรมการบริหารของ Porsche AG กล่าวว่า “ในกรณีที่ปราศจากปัญหาการขาดแคลนชิปอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ปอร์เช่จะมีโอกาสจำหน่ายรถยนต์ได้ในปริมาณมากกว่าปัจจุบัน เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเข้ามาจนเต็มกำลังการผลิต พิสูจน์ได้ชัดจากยอดส่งมอบของรถสปอร์ตไฟฟ้าปอร์เช่ ไทคานน์ (Porsche Taycan) ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมทั้งสิ้น 28,640 คัน ใน 9 เดือนแรกของปี “ปอร์เช่ ไทคานน์ (Porshce Taycan) คือรถสปอร์ตพลังงานไฟฟ้าที่เต็มไปด้วย                นวัตกรรมชั้นสูง และได้รับความนิยมอย่างมากจากกลุ่มลูกค้าปอร์เช่ ถือเป็นผลตอบรับที่ดีเยี่ยมต่อกลยุทธ์การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคสมัยของยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า ความต้องการยนตรกรรมสปอร์ตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงการวางตำแหน่งของสินค้าที่ถูกต้อง”

ผลกระทบจากวิกฤติการณ์การขาดแคลนอุปกรณ์ semiconductor ในตลาดโลก ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึงกันยายน โดยรายได้และผลตอบแทนจากการขาย ลดต่ำกว่าระดับที่เคยทำได้ในหลายเดือนก่อนหน้า ตามที่  Meschke ได้กล่าวถึงสถานการณ์การขาดแคลนทั่วโลก ซึ่งจะยังเป็นเช่นนี้ไปในอีก 2 – 3 เดือนข้างหน้า “ไตรมาสที่ 4 จะเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก เราจะต้องทุ่มเททุกความพยายามที่มี เพื่อผลิตรถยนต์ให้สมบูรณ์ แม้ต้องเผชิญกับการขาดแคลนอุปกรณ์ semiconductor ก็ตาม วัตถุประสงค์สำหรับปีนี้ คือการบรรลุผลงานตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้ได้เมื่อสิ้นปี” Meschke เน้นย้ำถึงเป้าหมายกลยุทธ์ ผลตอบแทนจากการจำหน่ายรถยนต์ที่ 15 เปอร์เซ็นต์ “พวกเราทั้งหมดจะทำทุกวิถีทางที่เราสามารถทำได้ เพื่อให้มั่นใจว่า เราจะสร้างผลงานได้สำเร็จตามเป้าหมาย ถึงแม้จะต้องเผชิญกับความท้าทายตลอดทั้งปี”

ผู้ผลิตรถสปอร์ตชั้นนำของโลกเดินหน้าโครงการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยโปรแกรมการลงทุนในระบบ digitalisation และ electrification แต่อย่างไรก็ตาม กระแสเงินสดสุทธิของบริษัทยังคงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในวันที่ 30 กันยายน 2021 มีตัวเลขกระแสเงินสุดสุทธิอยู่ที่ 2,900 ล้านยูโร หรือคิดเป็นอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นถึง 74.4 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า (ปี 2020 กระแสเงินสดสุทธิ 1,700 ล้านยูโร) และในขณะเดียวกัน แม้จะอยู่ในสถานการณ์อันยากลำบาก ปอร์เช่ ยังคงสามารถรักษาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานภายในองค์กรได้ถึง 36,663 คน (เมื่อสิ้นปี 2020  มีจำนวนบุคลากร 36,359 คน)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *