เคล็ดลับรับมือเหตุฉุกเฉินในรถยนต์ไฟฟ้า ที่ผู้ใช้รถทุกคนต้องรู้ จาก DEEPAL

เคล็ดลับรับมือเหตุฉุกเฉินในรถยนต์ไฟฟ้า ที่ผู้ใช้รถทุกคนต้องรู้ จาก DEEPAL

ในยุคที่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) กำลังเพิ่มจำนวนบนท้องถนนอย่างรวดเร็วในประเทศไทยกับยอดจดทะเบียนในปี 2567 ที่ผ่านมาสูงถึง 96,736 คัน และมียอดสะสมถึง 227,490 คัน* ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษายานยนต์ไฟฟ้าและวิธีรับมือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก ทั้งในกลุ่มประชาชนทั่วไปและเจ้าหน้าที่กู้ภัย วันนี้ DEEPAL ในฐานะแบรนด์ยานยนต์ไฟฟ้าชั้นนำภายใต้ CHANGAN Automobile เล็งเห็นความสำคัญด้านความปลอดภัยบนท้องถนน และอยากเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมความรู้ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดเหตุสุดวิสัย โดยเฉพาะใกล้ช่วงเทศกาลวันหยุดยาวที่กำลังจะมาถึง ซึ่งการจราจรจะหนาแน่นเป็นพิเศษ จึงตอกย้ำความมุ่งมั่น ผ่านการให้คำแนะนำด้านการรับมืออุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้าอย่างถูกวิธีเพื่อความปลอดภัยของทุกคน

เมื่อโลกเปลี่ยน ทุกคนต้องตามให้ทัน

 รถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปมีความแตกต่างที่สำคัญหลายประการ ในขณะที่รถยนต์เครื่องยนต์สันดาปใช้น้ำมันเป็นแหล่งพลังงานจึงมีความเสี่ยงจากการรั่วไหลของเชื้อเพลิง รถยนต์ไฟฟ้าใช้แบตเตอรี่แรงดันสูงที่อาจจะยังเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้แม้เกิดอุบัติเหตุ อีกทั้งความเสี่ยงหลักของรถทั้งสองประเภทก็แตกต่างกัน โดยรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปอาจเกิดไฟไหม้จากน้ำมันเชื้อเพลิงรั่วไหล ในขณะที่รถยนต์ไฟฟ้าอาจเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Thermal runaway หรือการที่แบตเตอรี่มีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเกินการควบคุม ซึ่งเป็นการลุกไหม้ของแบตเตอรี่แรงดันสูงที่ดับได้ยากกว่ามาก

นอกจากนี้ รถยนต์ไฟฟ้ามีส่วนประกอบหลักที่ทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่แรงดันสูง (Power Battery Pack) ที่เป็นเสมือนหัวใจสำหรับกักเก็บและจ่ายพลังงาน ชุดควบคุมมอเตอร์และมอเตอร์ขับเคลื่อน (MCU & Drive Motor) แทนกล้ามเนื้อที่ทำให้เคลื่อนไหวได้ โมดูลควบคุมรถยนต์ (Vehicle Control Unit) เป็นสมองคอยสั่งการ ไปจนถึงชุดมอเตอร์ที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนรถ รวมถึงระบบปรับอากาศและทำความร้อนที่ทำงานด้วยไฟฟ้า ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง

การจัดการเหตุฉุกเฉินเบื้องต้น เมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิด

ในกรณีอุบัติเหตุทั่วไป สิ่งแรกที่ต้องทำคือการตอบสนองฉุกเฉินด้วยการพาผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ออกจากบริเวณ ติดต่อเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกั้นพื้นที่ จากนั้นต้องพยายามตัดระบบไฟฟ้าแรงสูงของรถให้เร็วที่สุดด้วยเครื่องมือฉนวนไฟฟ้าที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ ขั้นตอนสำคัญลำดับถัดมาคือการประเมินความปลอดภัย โดยต้องตรวจสอบการรั่วไหล ความเสียหาย หรือความเสี่ยงอื่นๆ รวมถึงประเมินระบบไฟฟ้าแรงสูงของรถ หากพบความเสี่ยงสูง ควรแจ้งผู้เชี่ยวชาญด้านระบบไฟฟ้าแรงดันสูงหรือทีมงานเฉพาะทางให้เข้ามาช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด

น้ำกับไฟฟ้า ขั้วตรงข้ามที่อาจไม่รุนแรงเท่าที่หลายคนเข้าใจ

คนส่วนใหญ่เชื่อว่ารถยนต์ไฟฟ้าที่จมน้ำจะมีไฟฟ้ารั่วไหลและเป็นอันตรายต่อผู้คนในบริเวณนั้น แต่ความจริงแล้วรถยนต์ไฟฟ้าสมัยใหม่มีระบบป้องกันที่ค่อนข้างดีและจะตัดระบบไฟฟ้าแรงดันสูงโดยอัตโนมัติเมื่อตรวจพบความผิดปกติ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความปลอดภัยของชีวิต ดังนั้น หากรถถูกน้ำท่วมอย่างรุนแรง ผู้ขับขี่และผู้โดยสารควรรีบออกจากตัวรถทันทีแล้วค่อยขอความช่วยเหลือ จากนั้นควรตัดระบบไฟของรถทันทีและปิดสวิตช์ซ่อมบำรุง (ถ้ามี) ไม่ควรปล่อยให้รถแช่น้ำนานเกินไปและควรให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบสภาพก่อนสตาร์ทรถ เพื่อไม่ให้เกิดการลัดวงจรและไฟไหม้ตามมา

การลากจูงรถยนต์ไฟฟ้าที่จมน้ำก็มีข้อควรระวังเช่นกัน ควรใช้รถลากแบบพื้นเรียบ (Flatbed Tow Truck) และป้องกันไม่ให้ล้อหมุนระหว่างการเคลื่อนย้าย เนื่องจากการหมุนของล้ออาจทำให้มอเตอร์ไฟฟ้าผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งอาจเป็นอันตรายหากระบบไฟฟ้าเกิดความเสียหายจากน้ำ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *