โตโยต้าแถลงยอดขายรถยนต์ปี 2567

โตโยต้าแถลงยอดขายรถยนต์ปี 2567

พร้อมคาดการณ์ตลาดรวมปี 2568 ที่ 600,000 คัน ตั้งเป้าประมาณการขายโตโยต้าที่ 231,000 คัน

ภาพรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2567 ยังคงอยู่กับสถานการณ์ที่ท้าทายเป็นอย่างมาก จากสภาวะโดยรวมและทิศทางของตลาดในปีที่ผ่านมา สะท้อนมายังตลาดรถยนต์ในประเทศ โดยมีตัวเลขยอดขายรวมในปี 2567 อยู่ที่ 572,675 คัน หรือลดลง 26.2% เมื่อเทียบกับปี 2566

สถิติการขายรถยนต์ในปี 2567

ยอดขายปี 2567

การเปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2566

  • ปริมาณการขายรวม

 572,675 คัน

-26.2%

  • รถยนต์นั่ง

  224,148 คัน

-23.4%

  • รถเพื่อการพาณิชย์

348,527 คัน

-27.9%

  • รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)

200,190 คัน

-38.4%

  • รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)

163,347 คัน

-38.3%

ทั้งนี้ มีปัจจัยหลากหลายด้านที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางของตลาดในปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นกำลังซื้อที่ลดลงตามสถานการณ์ปัจจุบันของเศรษฐกิจ รวมถึง ค่าครองชีพ อัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ทรงตัวสูง ตลอดจนความเข้มงวดของมาตรฐานในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ภายในประเทศยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่

อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งส่งผลต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปีที่ผ่านมา อาทิ การที่ตลาดรถยนต์พลังงานทางเลือก โดยเฉพาะรถยนต์ไฮบริด (HEV) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เป็นแรงส่งสำคัญในช่วงที่ตลาดยังไม่ฟื้นตัว เห็นได้จากการที่รถยนต์ไฮบริดในไทยมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้น 29% แสดงให้เห็นถึงทางเลือกเทคโนโลยีของผู้บริโภคที่หลากหลายขึ้น

สำหรับยอดขายของโตโยต้าในปี 2567 มียอดขายโดยรวมอยู่ที่ 220,356 คัน หรือลดลง 17.1% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หากแต่ยังคงความเป็นผู้นำตลาด ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 หรือเท่ากับ 38.5% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมด ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความนิยมของรถในกลุ่มอีโคคาร์ของโตโยต้าที่เป็นส่วนหนึ่งของตลาดรถยนต์นั่ง ยังคงสามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสัดส่วนยอดขายรถยนต์ในกลุ่มรถยนต์ไฮบริด (HEV) ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรุ่น Yaris Cross ที่ยังคงได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้านับตั้งแต่เปิดตัว

ในขณะที่สัดส่วนยอดขายของตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ยังคงครองอันดับ 1 ด้วยส่วนแบ่งทางการตลาดที่ 44% จากการที่โตโยต้าพัฒนารถกระบะไฮลักซ์ให้รองรับการใช้งานต่างๆ จนได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับความสำเร็จของ Toyota Hilux Champ ซึ่งให้การปรับแต่งเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าได้เป็นอย่างดี มียอดขายอยู่ที่ 11,743 คัน โดยมีส่วนแบ่งตลาด 7.2% ในกลุ่มรถกระบะ นอกจากนี้ การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการมีผลิตภัณฑ์ยานยนต์ที่หลากหลายของ โตโยต้า ก็มีส่วนทำให้สามารถเข้าถึงและใกล้ชิดกับลูกค้าในกลุ่มเป้าหมายต่างๆได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2567

ยอดขายปี 2567

การเปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2566

ส่วนแบ่งตลาด

  • ปริมาณการขายโตโยต้า

220,356 คัน

-17.1%

38.5%

  • รถยนต์นั่ง

 66,912 คัน

-32.6%

29.9%

  • รถเพื่อการพาณิชย์

153,444 คัน

-7.9%

44.0%

  • รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)

91,001 คัน

-29.3%

45.5%

  • รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)

77,987 คัน

-26.8%

47.7%

แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2568

แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2568 คาดว่าจะยังคงอยู่ในสภาวะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป  พร้อมกับการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจโดยรวมทั้งหมด โดยมีแรงหนุนด้านอุปสงค์จากกิจกรรมในภาคธุรกิจและการลงทุนที่จะกระเตื้องขึ้น ภาคการท่องเที่ยวที่เติบโตดีขึ้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นความต้องการรถยนต์ให้สูงขึ้น นโยบายของภาครัฐที่จะสนับสนุนการใช้จ่ายให้เร่งตัวขึ้น การขยายตัวของการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมภายในประเทศและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการผลักดันมาตรการสนับสนุนของภาครัฐที่มีต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ ตลอดจนกลยุทธการส่งเสริมการขายและสงครามราคาจากผู้ผลิตรถยนต์แบรนด์ต่างๆที่คงจะทวีความเข้มข้นยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องเฝ้าดูสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่อาจส่งผลต่อการส่งออก ตลอดจนสถานการณ์ที่ทางสถาบันการเงินอาจยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เนื่องจากความกังวลต่อความสามารถในการชำระหนี้จากภาวะหนี้ครัวเรือนที่ยังคงสูงและอัตราหนี้เสียที่คาดว่าจะอยู่ในระดับสูงต่อไป และทิศทางของนโยบายอัตราดอกเบี้ย ทำให้คาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2568 จะอยู่ที่ 600,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2568

ยอดขายประมาณการ

ปี 2568

เปลี่ยนแปลงเทียบกับ

ปี 2567

  • ปริมาณการขายรวม

600,000 คัน 

+5.0%

  • รถยนต์นั่ง

235,900 คัน 

+5.0%

  • รถเพื่อการพาณิชย์

364,100 คัน 

+4.0%

สำหรับโตโยต้า ตั้งเป้ายอดขายอยู่ที่ 231,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 5% โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 38.5%

ประมาณการยอดขายรถยนต์โตโยต้าในปี 2568

ยอดขายประมาณการ

ปี 2568

เปลี่ยนแปลง

เทียบกับปี 2567

ส่วนแบ่งตลาด

  • ปริมาณการขายโตโยต้า

231,000 คัน 

+5.0%

38.5%

  • รถยนต์นั่ง

79,300 คัน 

+19%

33.6%

  • รถเพื่อการพาณิชย์

151,700 คัน 

-1.0%

41.7%

  • รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง)

87,365 คัน 

-4.0%

47.8%

  • รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)

73,800 คัน 

-5.0%

50.7%

ปริมาณการส่งออกรถยนต์และการผลิตของโตโยต้าในปี 2567

ในปี 2567 โตโยต้าได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปไปจำนวน 338,107 คัน ลดลง 11% จากปี 2566 โดยยอดรวมการผลิตรถยนต์สำหรับการขายภายในประเทศและการส่งออกใน   ปี 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 536,145 คัน หรือลดลง  14% จากปี 2566

ปริมาณการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปและการผลิตของ

โตโยต้าในปี 2567

ปริมาณในปี 2567

เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2566

  • ปริมาณการส่งออก

338,107 คัน 

-11%

  • ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ

536,145 คัน 

-14%

เป้าหมายการส่งออกรถยนต์และการผลิตของโตโยต้าในปี 2568

สำหรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้าในปี 2568 คาดการณ์ว่ายังต้องเผชิญกับภาวะทรงตัวสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ตลอดจนภาวะฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและกำลังซื้อของประเทศ  คู่ค้า ส่งผลให้โตโยต้าตั้งเป้าปริมาณการส่งออกรถยนต์อยู่ที่ 336,184 คัน หรือลดลง 1% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และได้ตั้งเป้าการผลิตรถยนต์ทั้งหมดของปี 2568 อยู่ที่ราว 537,860 คัน หรือเพิ่มขึ้น 0.3% จากปีที่ผ่านมา

เป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปและการผลิตของโตโยต้าปี 2568

ปริมาณในปี 2568

เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2567

  • ปริมาณการส่งออก

336,184 คัน 

-1.0%

  • ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ

537,860 คัน 

+0.3%

แนวทางในการดำเนินงานด้านอื่นๆของโตโยต้าในประเทศไทย

  1. หนึ่งในหลักการที่โตโยต้าให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการให้กับลูกค้า คือ QDR ซึ่งย่อมาจาก Quality, Durability and Reliability หมายถึงคุณภาพ ความทนทาน และความน่าเชื่อถือ แนวคิดนี้ช่วยให้โตโยต้ามีชื่อเสียงในเรื่องของคุณภาพและความน่าเชื่อถือของยานยนต์ นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน สามารถตอบสนองความคาดหวัง และเสริมสร้างความไว้วางใจของลูกค้าที่มีต่อโตโยต้าได้อย่างต่อเนื่อง
  • คุณภาพ (Quality) โตโยต้ามุ่งมั่นในการผลิตยานยนต์ที่มีคุณภาพสูง ทั้งในด้านการออกแบบ การเลือกใช้วัสดุ และกระบวนการผลิต รวมถึงการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอนของการผลิต
  • ความทนทาน (Durability) โตโยต้าให้ความสำคัญกับการผลิตรถยนต์ที่มีความทนทาน สามารถใช้งานได้ยาวนาน และทนต่อการใช้งานในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
  • ความน่าเชื่อถือ (Reliability) รถยนต์ที่ผลิตโดยโตโยต้าถูกออกแบบให้สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ไม่เกิดปัญหากะทันหันขณะใช้งาน และสามารถพึ่งพาได้ในทุกสถานการณ์
  1. ในการเดินหน้าสู่การเป็น Mobility Company โตโยต้าคำนึงถึงการดูแลลูกค้าอย่างครบวงจร ผ่านการผลิต ยนตรกรรมคุณภาพสูง ทนทาน และน่าเชื่อถือ พร้อมกับการให้บริการชิ้นส่วนอะไหล่และศูนย์บริการที่ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความอุ่นใจขณะใช้รถโตโยต้า พร้อมมุ่งเน้นการพัฒนาบริการหลังการขายให้มีมาตรฐานและคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง ทั้งแนะนำบริการรูปแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อ (Connected) เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้งานของลูกค้า โดยยังให้ความสำคัญกับการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า พร้อมสนับสนุนการใช้รถที่ปลอดภัย การบำรุงรักษา และไลฟ์สไตล์ประจำวันของลูกค้า โดยมุ่งมั่นพัฒนาเพื่อตามทันเทคโนโลยีและตอบสนองพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
  • T-Connect: ยกระดับการบริการลูกค้ายุคดิจิทัล เพื่อความสะดวกและคุ้มค่าของลูกค้า โดยแบ่งบริการออกเป็น 5 หมวด พร้อมฟังก์ชันและบริการมากกว่า 20 บริการ อาทิ บริการสินเชื่อ Connected Auto Loan (CAL) / ประกันภัยขับดี Pay How You Drive (PHYD) / บริการช่วยเหลือด้านความปลอดภัย เช่น ระบบ Find My Car, TheftTrack, SOS ช่วยเหลือฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง ดูแลเคสได้ 100% / บริการอำนวยความสะดวกในการเข้าศูนย์บริการ แจ้งเตือนเข้าเช็กระยะ ติดตามสถานะการซ่อมผ่านแอปพลิเคชัน / สิทธิพิเศษไลฟ์สไตล์ ผ่านความร่วมมือกับ The1 เพื่อแลกส่วนลดและสะสมคะแนนเพื่อใช้ที่เซ็นทรัลและร้านค้าต่างๆ ทั่วประเทศ
  • TCFR Plus+: ยกระดับการบริการหลังการขายของโตโยต้า มอบความมั่นใจให้ลูกค้าตลอดระยะเวลาการเป็นเจ้าของรถโตโยต้า โดยบริการหลังการขายที่มีศูนย์บริการกว่า 450 แห่งทั่วประเทศ ให้บริการที่มีคุณภาพและมาตรฐานเดียวกัน พร้อมสิทธิประโยชน์ต่างๆมากมาย
  • บริการทางเลือกอะไหล่คุณภาพและรถใช้แล้วคุณภาพดี เพื่อให้ครอบคลุมด้านงานบริการอย่างครบวงจร และให้ลูกค้าเกิดความสบายใจตลอดการใช้รถ สำหรับรถยนต์ที่หมดระยะการรับประกันแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการประกันภัย บำรุงรักษา รวมถึงการดูแล ตลอดจนราคาขายต่อของรถที่ยังคงสมเหตุสมผล อาทิ

ฟิกซ์ฟิต (FIX FIT) ศูนย์บริการทางเลือกที่ได้มาตรฐาน สะดวก ไม่ต้องนัดหมาย ใกล้บ้าน บริการรถทุกยี่ห้อ เหมาะสำหรับลูกค้านอกระยะรับประกัน

อะไหล่ทางเลือก (T-OPT) อะไหล่คุณภาพระดับ OEM ที่ได้มาตรฐาน รับประกันความคุ้มค่า มีจำหน่ายที่ศูนย์บริการโตโยต้าและฟิกซ์ฟิตทั่วประเทศ

Toyota SURE บริการรับซื้อ แลกเปลี่ยนรถทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ และยังมีรถใช้แล้วคุณภาพดี Sure Certified by TOYOTA ที่มาพร้อมกับราคาที่เข้าถึงได้

  1. โตโยต้ายังได้มีในการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการสร้าง “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” (Carbon Neutrality) โดยเตรียมความพร้อมในหลากหลายแนวทาง หรือ “Multi Pathway” เพื่อทุกความเป็นไปได้ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการเดินทางของผู้คน โดยมีการร่วมมือกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เพื่อดำเนินโครงการเกี่ยวกับการใช้งานยานยนต์ที่หลากหลาย ซึ่งทางโตโยต้าจัดเตรียมไว้เพื่อให้ทดลองใช้งานในการเดินทางรูปแบบต่าง ๆ อาทิเช่น รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (BEV) รถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) อีกด้วย
  2. ในด้านกิจกรรมสังคมอื่น ๆ โตโยต้าก็ยังมุ่งเน้นการขับเคลื่อนสังคมไทย สู่ “ยุคแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน” เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย พร้อมทั้งเสริมสร้างสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมที่ดี ผ่านการดำเนินกิจกรรมและขยายผลการดำเนินงานในโครงการต่างๆอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น
  • การรณรงค์ด้านการขับขี่ปลอดภัยกับ “โครงการ โตโยต้า ถนนสีขาว”
  • การรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนกับ “โครงการ ลดเปลี่ยนโลก”
  • การดำเนิน “โครงการ โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” โดยแชร์ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนไทย
  • การดำเนินโครงการ “Toyota GIVING ขับเคลื่อนไทยให้ยั่งยืน” ซึ่งเป็นพันธกิจสำคัญในการขับเคลื่อนชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนผ่านการให้ในทุกมิติ ทั้งในด้านสุขภาพ ความเป็นอยู่ ภูมิปัญญา และการศึกษา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *